เมนู

ต้อง เหยียบสิ่งที่ไม่ควรเหยียบ อาจารย์ของพวกเรานี้นั้นกล่าวติพระ
รัตนตรัย ซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคน
กลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากำปั้นทำลายภูเขา
สิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับ
มันที่ดุร้าย ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่าก็ดี
ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษอันร้ายแรงก็ดี กลืนน้ำกรดก็ดี ตกเหวลึก
ก็ดี ไม่ใช่ศิษย์จะต้องทำตามนั้นไปเสียทุกอย่าง ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติตามควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่บิดา
จะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตร จะไปด้วยกรรมของบิดา มิใช่มารดาจะ
ไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของมารดา มิใช่พี่ชายจะ
ไปด้วยกรรมของน้องสาว มิใช่น้องสาวจะไปด้วยกรรมของพี่ชาย มิใช่
อาจารย์จะไปด้วยกรรมของศิษย์ มิใช่ศิษย์จะไปด้วยกรรมของอาจารย์
ก็อาจารย์ของเรากล่าวติพระรัตนตรัย และการด่าพระอริยเจ้าก็มีโทษมาก
จริง ๆ ดังนี้ เมื่อจะย่ำยีวาทะของอาจารย์ อ้างเหตุผลเหมาะควร เริ่ม
กล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย ทั้งนี้เพราะพรหมทัตมาณพ
เป็นกุลบุตรมีเชื้อชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
ส่วนพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า
ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

อธิบาย วณฺณ ศัพท์


ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า วณฺณ ในบทว่า วณฺโณ ย่อมปรากฏ
ในความว่า สัณฐาน ชาติ รูปายตนะ การณะ ปมาณะ คุณะ และปสังสา.
ในบรรดาเนื้อความเหล่านั้น สัณฐาน เรียกว่า วณฺณ เช่นใน

ประโยคมีอาทิว่า มหนฺตํ สปฺปราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวด
ทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.
ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺโฐ
วณฺโณ หีโน อญฺโญ วณฺโณ
พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐ
ชาติอื่นเลว.
รูปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมาย
วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา
ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะ
อย่างยิ่ง.
เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หรามิ น ภญฺชามิ อารา สึฆามิ วริชํ
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้า
ดมห่าง ๆ ซึ่งดอกมัว เมื่อ เป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า
ท่านจึงกล่าวว่าขโมยกลิ่น.

ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา
บาตร 3 ขนาด.
คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สํญุฬฺหา
ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคดมสฺส วณฺณา
ดูก่อนคหบดี
ท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ ไว้แต่เมื่อไร.
สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส
วณฺณํ ภาสติ
กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.
ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ .

ได้ยินว่า พรหมทัตมาณพนี้ ได้อ้างเหตุที่เป็นจริงนั้น ๆ กล่าว
สรรเสริญประกอบด้วยคุณแห่งพระรัตนตรัย โดยอเนกปริยาย.
ในข้อนั้น พึงทราบคุณของพระพุทธเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า.
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ.
และมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก ไม่มีผู้เสมอ สมกับ
เป็นผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.
พึงทราบคุณของพระธรรม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สฺวากฺขาโต
ภควตา ธมฺโม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า พระธรรม
ถอนอาลัย ตัดวัฏฏะ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใส
ในอริยมรรคมีองค์ 8 ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.
อนึ่ง พึงทราบคุณของพระสงฆ์ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สุปฏิ-
ปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปฏิบัติดีแล้ว และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ดังนี้ .
ก็พระธรรมกถึก ผู้สามารถ พึงประมวลนวังคสัตถุศาสน์ในนิกาย
ทั้ง 5 เข้าสู่พระธรรมขันธ์ 84,000 ประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระ
พุทธเจ้าเป็นต้น. พรหมทัตมาณพเมื่อประกาศคุณของพระพุทธเจ้าเป็น
ต้นในฐานะนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะกล่าวว่าเป็นพระธรรมกถึกแล่นไปผิดท่า.
แลพึงทราบกำลังความสามารถของพระธรรมกถึกในฐานะเช่นนี้. ส่วน

พรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย โดยกำลังความสามารถ
ของตน ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยเพียงข่าวที่ฟังมาเป็นต้น
คำว่า อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี ความว่า ด้วยประการ
ฉะนี้ อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้น. บทว่า อญฺญมญฺญสฺส ตัดบทเป็น
อญฺโญ อญฺญสฺส ความว่า คนหนึ่งเป็นข้าศึกแก่อีกคนหนึ่ง.
บทว่า อุชุวิปจฺจนิกวาทา ความว่า มีวาทะเป็นข้าศึกหลายอย่าง
โดยตรงทีเดียว มิได้หลีกเลี่ยงกันแม้แต่น้อย อธิบายว่า มีวาทะผิดแผก
กันหลายวาระทีเดียว ด้วยว่า เมื่ออาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัย ศิษย์กล่าวชม
คือคนหนึ่งกล่าวติ อีกคนหนึ่งกล่าวชม โดยทำนองนี้แล. อาจารย์กล่าวติ
พระรัตนตรัยบ่อย ๆ อย่างนี้ เหมือนตอกลิ่มไม้เนื้ออ่อนลงบนแผ่นไม้เนื้อ
แข็ง. ฝ่ายศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัยบ่อย ๆ เหมือนเอาลิ่มที่ทำด้วยทอง
เงิน และแก้วมณี ป้องกันลิ่มนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึง
กล่าวว่า ต่างมีถ้อยคำเป็นข้าศึกโดยตรง ดังนี้.
คำว่า ภควนฺตํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต อนพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
ความว่า เป็นผู้ติดตามไปข้างหลัง ๆ ยังมองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ภิกษุสงฆ์ โดยการติดตามอิริยาบถ อธิบายว่า ยังแลเห็นศีรษะตามไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเดินทางไกล ?
เพราะเหตุไร สุปปิยปริพาชกจึงติดตามไป ? และเพราะเหตุไร เขาจึง
กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย.
ตอบว่า เริ่มแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหาร
แห่งหนึ่งในบรรดามหาวิหาร 1 แห่ง ที่เรียงรายอยู่รอบกรุงราชคฤห์
ในกาลนั้น เวลาเช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ ถึงเวลาภิกษาจาร

มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ วันนั้น พระ
องค์ทรงทำให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย ในเวลาภายหลังอาหาร
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์รับบาตรและจีวร มีพระพุทธ-
ดำรัสว่า จักไปเมืองนาลันทา เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนิน
ทางไกลนั้น.
ในกาลนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็อยู่ในอารามปริพาชกแห่งหนึ่งที่
เรียงรายอยู่ รอบกรุงราชคฤห์ มีปริพาชกแวดล้อมเที่ยวภิกษาจารในกรุง
ราชคฤห์
วันนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็กระทำให้บริษัทปริพาชกหาภิกษา
ได้ง่าย บริโภคอาหารเช้าแล้ว ให้พวกปริพาชกรับบริขารแห่งปริพาชก
กล่าวว่า จักไปเมืองนาลันทา เหมือนกัน ไม่ทราบเลยว่าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
เสด็จไปทางนั้น ชื่อว่าติดตามไป ถ้าทราบก็จะไม่ติดตามไป.
สุปปิยปริพาชกนั้นไม่ทราบเลย เมื่อเดินไป ชะเง้อคอขึ้นดู จึงเห็นพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
งามด้วยพระพุทธสิริปานประหนึ่งยอดภูเขาทองเดินได้ที่
แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.
ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระ
ของพระทศพล วนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก. บริเวณป่านั้น
ย่อมเป็นดังเกลื่อนกล่นไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะ และผงรัตนะ ดั่ง
แผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน้ำทองสีแดงก่ำ
ดั่งเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดาวร่วง ดั่งฝุ่นชาดที่คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่ง
แวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้งสายฟ้า และหมู่ดาราก็
ปานกัน.
ก็และพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ

แปดสิบ ดั่งสระที่มีดอกบัวหลวง และบัวขาบแย้ม ดั่งต้นปาริฉัตตกออก
ดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ดั่งจะเย้ยพื้นทิฆัมพร ซึ่งประหนึ่งแย้มด้วย
พยับดาราด้วยพระสิริ อนึ่ง มาลัย คือพระลักษณะอันประเสริฐสามสิบสอง
ประการของพระองค์ ที่งามวิลาศด้วยวงด้วยพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ก็ปาน
ดั่งเอาพระสิริมาข่มเสียซึ่งพระสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองค์
เทวราชสามสิบสองพระองค์และมหาพรหมสามสิบสองพระองค์ ที่วางไว้
ตั้งไว้ตามลำดับแห่งพวงมาลัยคือพระจันทร์สามสิบสองดวง พวงมาลัยคือ
พระอาทิตย์สามสิบสองดวงที่ร้อยแล้ว.
ก็และภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้ง
หมดล้วนแต่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีกัน ตักเตือนกัน
ติเตียนบาป ว่ากล่าวกัน ผู้เต็มใจทำตาม ทนคำสั่งสอน ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะ. ในท่าม
กลางภิกษุเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดั่งเสาทอง ล้อมด้วย
กำแพงคือผ้ากัมพลแดง ดั่งเรือทองที่อยู่กลางดงปทุมแดง ดั่งกองอัคคี
ที่วงด้วยไพที่แก้วประพาฬ ดั่งพระจันทร์เพ็ญอันล้อมด้วยหมู่ดาว ย่อม
เจริญตาแม้แห่งฝูงมฤคชาติและปักษีทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงเทวดา
และมนุษย์เล่า.
ก็ในวันนั้นแล โดยมากพระอสีติมหาเถระต่างก็ทรงผ้าบังสุกุลมีสีดัง
เมฆเฉวียงบ่าข้างหนึ่งถือไม้เท้า ราวกะว่าช้างตระกูลคันธวงศ์ที่ได้รับการ
ฝึกหัดเป็นอย่างดี ปราศจากโทษแล้ว คายโทษแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว
สางเครื่องรุงรังแล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น พระองค์เองทรงปราศจากราคะแล้ว

แวดล้อมด้วยไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจาก
โทสะแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากโทสะแล้ว พระองค์เองทรง
ปราศจากตัณหาแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากตัณหาแล้ว พระ
องค์เองทรงไม่มีกิเลส แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ไม่มีกิเลส พระองค์เองเป็น
ผู้ตรัสรู้แล้ว แวดล้อมไปด้วยพระสาวกผู้รู้ตามเสด็จทั้งหลาย ราวกะว่า
ไกรสรราชสีหแวดล้อมไปด้วยมฤคชาติ ราวกะว่าดอกกัณณิการ์แวดล้อม
ด้วยเกสร ราวกว่าพญาช้างฉัททันต์แวดล้อมด้วยช้างแปดพันเชือก ราว
กะว่าพญาหงส์ชื่อธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น ราวกะว่าพระเจ้าจักร-
พรรดิแวดล้อมด้วยเสนางคนิกร ราวกว่าท้าวสักกเทวราชแวดล้อมด้วย
หมู่เทวดา ราวกะว่าท้าวหาริตมหาพรหมแวดล้อมด้วยหมู่พรหม ได้
เสด็จดำเนินไปทางนั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เป็นอจินไตย
ที่ใคร ๆ ไม่ควรคิดซึ่งบังเกิดด้วยผลบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดกาลประมาณ
มิได้ ดังดวงจันทร์ที่โคจรตลอดพื้นทิฆัมพรฉะนั้น.

สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า


ครั้งนั้น ปริพาชกครั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วย
พุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ และเห็นภิกษุทั้งหลายมีจักษุทอดลง มี
อินทรีย์สงบ มีใจสงบ กำลังถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดั่ง
ดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นอยู่บนนภากาศ ฉะนั้น อย่างนี้แล้ว ได้เหลียวดู
บริษัทของตน. บริษัทของปริพาชกนั้น มากไปด้วยหาบบริขารมิใช่น้อย
มีตั่งเล็ก ๆ สามง่าม บาตรดินมีสีดังแววหางนกยูง กะทอและคนโทน้ำ
เป็นต้น ซึ่งห้อยอยู่ที่ไม้คานหาบมาพะรุงพะรัง ทั้งปากกล้า กล่าววาจา
หาประโยชน์มิได้ มีอาทิอย่างนี้ว่า มือของคนโน้นงาม เท้าของคนโน้น
งาม มีวาจาเพ้อเจ้อ ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส. ครั้นเห็นดังนั้นเขาเกิด
วิปฏิสาร. ในกาลบัดนี้ ควรที่เขาจะกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่เพราะเหตุที่ปริพาชกนี้ริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ตลอดกาลเป็น
นิจ เพราะความเสื่อมแห่งลาภสักการะ และความเสื่อมพรรคพวก ด้วย
ว่าลาภสักการะย่อมบังเกิดแก่อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายยังมิได้เสด็จอุบัติในโลก แต่จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
ขึ้น อัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันเสื่อมลาภสักการะ ถึงความเป็นผู้ไร้สง่า
ราศี ดั่งหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.
ก็ในเวลาที่อุปติสสะและโกลิตะบวชในสำนักของสัญชัยนั้น พวก
ปริพาชกได้มีบริษัทมาก แต่เมื่ออุปติสสะและไกลิตะหลีกไป บริษัท
ของพวกเขาแม้นั้นก็พากันแตกไป. ด้วยเหตุ 2 ประการดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าสุปปิยปริพาชกนี้เมื่อคายความริษยานั้นออกมา กล่าวติพระ
รัตนตรัยทีเดียว เพราะริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นนิจ